ข้อมูลและประวัติของประเทศมาเลเซีย

  • admin
  • 27 ก.พ. 2559
  • 7,919
Advertisement

ประเทศมาเลเซีย
ธงชาติมาเลเซีย


ชื่อทางการ : สหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia)

เมืองหลวง : กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)

ศาสนาประจำชาติ : ศาสนาอิสลาม

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกบุหงารายา (Bunga Raya) หรือดอกชบาแดง

วันชาติ : 31 สิงหาคม

วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (สมาชิกก่อตั้ง)

ภาษาประจำชาติ : ภาษามาเลย์ (Bahasa Malaysia) หรือมลายู

ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์




ลักษณะทางภูมิศาสตร์
มาเลเซียตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร มีพื้นที่ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร



“ภูมิประเทศ”
ประเทศมาเลเซียประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น

มาเลเซียตะวันตก

ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดกับไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ โดยประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส และ 1 เขตที่ปกครองโดยรัฐบาลกลาง คือ เกาะลาบวน


มาเลเซียตะวันออก

ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) มีพรมแดนทิศใต้ติดกับอินโดนีเซียทั้งหมด ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาร์ และซาราวัก และ 2 เขตที่ปกครองโดยรัฐบาลกลาง คือ กัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) ปุตราจายา (เมืองราชการ)




“ภูมิอากาศ”

ร้อนชื้นและฝนตกชุกตลอดปี โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสลมจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้




ประชากร

มีจำนวนประชากรประมาณ 28.3 ล้านคน โดยมีเชื้อชาติหลักคือ มลายู รองลงมาคือ จีน อินเดีย และเชื้อชาติอื่นๆ เช่น ไทย ทมิฬ ฮอลันดา อาหรับ เป็นต้น รวมถึงยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิม เช่น โอรังอัสลี อีบาน และคาดาดุนซุน เป็นต้น




การเมืองการปกครอง

ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เรียกว่า สมเด็จพระราชาธิบดี หรือ ยังดี เปอร์กวน อากง (Yang dipertuan Agong) ซึ่งเลือกจากเจ้าครองรัฐต่างๆ ผลัดเวียนกันทุก 5 ปี ส่วนระบบรัฐบาล มีทั้งรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐและรัฐบาลแห่งรัฐปกครองแบบรัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยมีนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุดของฝ่ายบริหารโดยประมุขของประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง


มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ ซึ่งแต่ละรัฐผู้ปกครองรัฐของตน และมี 3 เขตที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ

เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ

มาเลเซียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นรองจากสิงคโปร์ แหล่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ทางมาเลเซียตะวันตก ปีนัง เป็นเมืองท่าใหญ่ของประเทศ มี ถนนหลวงมาตรฐานสูงเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายไปทั่ว ประเทศคู่ค้าสำคัญของมาเลเซียคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ สินค้าส่งออก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันปาล์ม เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เหล็ก ยางพารา และเป็นผู้ส่งออกดีบุกอันดับต้นๆ ของโลก




ประวัติ
มาเลเซียเคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2054 โดยถูก โปรตุเกส ยึดครองช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสำคัญในขณะนั้น และต่อมาตกเป็นของ ชาวดัตช์หรือเนเธอร์แลนด์

ในพ.ศ.2359 ไทยหรือสยาม ได้ ไทรบุรี (เกดะห์) กลันตันและตรังกานู เป็นเมืองขึ้น

พ.ศ.2367 อังกฤษ เข้ายึดครองต่อจากดัตช์และได้จัดตั้งเขตปกครองรวม ปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ เรียกว่า เขตจัดตั้งช่องแคบ (The Straits Settlements)

มาเลเซียได้รับเอกราชในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2500 โดยใช้ชื่อประเทศว่า สหพันธรัฐมาลายา และมีนายกรัฐมนตรีคนแรกชื่อ ตนกู อับดุล ราห์มาน

พ.ศ. 2506 ได้มีการรวมสหพันธรัฐมาลายา สิงคโปร์ ซาบาห์ บรูไนและสิงคโปร์ได้แยกตัวออกเป็นอิสระภายหลัง

ข้อมูลจาก http://www.9ddn.com/content.php?pid=764
เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย
เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย

กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ก่อตั้งประมาณ ค.ศ. 1850 (พ.ศ. 2393) มีเนื้อที่ประมาณ 243 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 1.6 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากสุดของประเทศ เมื่อมองทางด้านเชื้อชาติของผู้อาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่า เป็นชาวมาเลย์และชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ชาวอินเดียมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น


สำหรับสัญลักษณ์ยุคใหม่ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่ใคร ๆ ก็รู้จัก คงหนีไม่พ้นตึกแฝดเปโตรนาสอย่างแน่นอน
สกุลเงินประเทศมาเลเซีย
สกุลเงินประเทศมาเลเซี

มาเลเซีย
ใช้สกุลเงิน ริงกิต อัตราแลกเปลี่ยน 1 ริงกิตมาเลเซีย = 10.40 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1 ริงกิต, 5 ริงกิต, 10 ริงกิต, 20 ริงกิต, 50 ริงกิต และ 100 ริงกิต

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2555 โดยอัตราแลกเปลี่ยนข้างต้นเป็นประมาณการซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน
ข้อมูล เมืองหลวง และสกุลเงิน จาก kapook.com