บันได 6 ขั้น ในการเรียนภาษาอังกฤษ (ขั้นที่ 5) Sentences ประโยค
Sentences (ประโยค) ในภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
(1) | Simple Sentence | (เอกัตถประโยค) |
(2) | Compound Sentence | (อเนกกัตถประโยค) |
(3) | Complex Sentence | (สังกรประโยค) |
1. Simple Sentence หรือ เอกัตถประโยค คือกลุ่มคำหรือข้อความที่พูด ออกไปโดยมากแล้ว มีประธาน (Subject) ตัวเดียว และมีกริยา (Verb) ตัวเดียวกัน เช่น
(a) | I go to school. | “ฉันไปโรงเรียน” |
(b) | He is singing a song. | “เขากำลังร้องเพลง” |
(c) | She is a good girl. | “หล่อนเป็นเด็กดี” |
(d) | It has run away. | “มันได้วิ่งออกไป” |
Simple Sentence นี้เองยังแบ่งออกไปอีก 5 ประเภทย่อย คือ
(1) | Affirmative Simple Sentence | (ประโยคบอกเล่า) |
(2) | Negative Simple Sentence | (ประโยคปฏิเสธ) |
(3) | Interrogative Simple Sentence | (ประโยคคำถาม) |
(4) | Imperative Simple Sentence | (ประโยคคำสั่ง/ขอร้อง/หรืออ้อนวอน) |
(5) | Exclamatory Simple Sentence | (ประโยคอุทาน) |
ทั้งหมดนี้คือ Sentences ย่อย ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Simple Sentence ต้องระวังอย่าจำสับสน
ซึ่ง Simple Sentence เหล่านี้มีใช้เป็นประจำในการเรียนภาษาอังกฤษ
ของแต่ละ Simple Sentence ย่อยทั้ง 5 คือ
(1) Affirmative Simple Sentence (ประโยคบอกเล่า)
(a) | He lives in Nan. | “เขาอาศัยอยู่ที่น่าน” |
(b) | We are going to school. | “พวกคุณกำลังไปโรงเรียน” |
(c) | He is eating a mango. | “เขากำลังรับประทานมะม่วง” |
(2) Negative Simple Sentence (ประโยคปฏิเสธ)
(a) | You are not going to school. | “คุณยังไม่ได้ไปโรงเรียน” |
(b) | She has not gone home. | “หล่อนไม่ได้ไปบ้าน” |
(c) | You have not done it well. | “คุณยังไม่ได้ทำให้มันดี” |
(3) Interrogative Simple Sentence (ประโยคคำถาม)
(a) | Does he Live in Nan ? | “เขาอาศัยอยู่ที่น่านใช่ไหม ?” |
(b) | Are you going to school ? | “คุณกำลังไปโรงเรียนใช่ไหม ?” |
(c) | Is he eating a mango ? | “คุณกำลังกินมะม่วงใช่ไหม ?” |
(4) Imperative Simple Sentence (ประโยคคำสั่ง/ขอร้อง/หรืออ้อนวอน)
(a) | Please open the door | “กรุณาเปิดประตู” |
(b) | Please turn light on | “กรุณาเปิดไฟ” |
(c) | Be quiet in the library | “โปรดเงียบ ! ในห้องสมุด” |
(5) Exclamatory simple Sentence (ประโยคอุทาน)
(a) | There goes the tiger ! | “เสือไปที่นั่น” |
(b) | What a terrible temper she has! | “หล่อนช่างมีอารมณ์ร้ายเสียนี่กระไร” |
(c) | How nice it is | “ช่างสวยเสียนี่กระไร” |
- Affirmative Simple Sentence (บอกเล่า)
- Negative Simple Sentence (ปฏิเสธ)
- Interrogative Simple Sentence (คำถาม)
2. Compound Sentence (อเนกัตถประโยค) ก็คือ Simple Sentence ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกันนั่นเอง โดยมีตัว Conjunctions (คำสันธาน) มาเชื่อม ยกตัวอย่าง เช่น
He is poor but he is hour “เขาจนแต่เขาก็ซื่อสัตย์”
จากประโยคนี้ถือว่าเป็น Compound Sentence หรืออเนกกัตถประโยคแล้ว เพราะมีตัว Conjunction คือ “but” มาเชื่อมนั่นเอง
Conjunctions อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1) Conjunctive Adverd (คำวิเศษณ์เชื่อม)
2) Co-ordinate Conjunction (คำสันธานประสาน)
3) การเชื่อมด้วยเครื่องหมายวรรคตอน
1. ตัวอย่าง Conjunctive Adverd (คำวิเศษณ์เชื่อม) ได้แก่
กลุ่มที่ 1 | however | “อย่างไรก็ตาม” |
moreover | “ยิ่งกว่านั้น” | |
consequently | “ดังนั้น” | |
ฯลฯ......... |
ตัวอย่าง Conjunctive Adverbs เหล่านี้เป็นตัว Conjunction ที่นำเข้ามาเชื่อมแล้ว ทำให้ ผู้ฟังได้ฉุกคิด หรือเน้นให้เห็นข้อสังเกตชัดขึ้น เช่น
(a) Sombat was sick; therefore, he did go to school.
“สมบัติป่วย ดังนั้น เขาจึงไม่ไปโรงเรียน”
(b) I don't khow this man; nevertheless, I don't trust him.
“ผมไม่รู้จักผู้ชายคนนี้ ยิ่งกว่านั้น ผมก็ไม่ไว้วางใจเขาอีก”
กลุ่มที่ 1 | otherwise | “มิฉะนั้น” |
Thus | “ดังนั้น” | |
still | “ยังคง” | |
hence | “ดังนั้น” | |
yet | “ยัง” |
ตัวอย่าง Conjunctive Adverbs เหล่านี้ ถือเป็นตัวเชื่อมทำให้เกิดประโยค Compound Sentence เหมือนกันแต่มีความหมายอ่อนไม่ค่อยชัดเหมือนกับ กลุ่มที่ 1 ตัวอย่างเช่น
(a) There is rain in the country; hence the crops are likely to die.
“ไม่มีฝนตกเลยในประเทศนี้ ดังนี้ พืชพันธุ์จวนจะตาย”
2. ตัว Co-ordinate Conjunction (คำสันธานประสาน) ซึ่งได้แก่
กลุ่มที่ 1 แบบมีความหมายรวม
And | “และ” | |
And……too | “และ....อีกด้วย” | |
And……also | “และ....อีกด้วย” | |
And also | “และอีกด้วย” | |
As well as | “และก็, พอๆ กันกับ” |
ตัวอย่าง เช่น
(a) | Nan is tried and hungry. |
“แนนเหนื่อยและหิว” |
|
(b) | Nan is tried and hungry too. |
“แนนเหนื่อยและหิวอีกด้วย” |
|
(c) | Nan is tried and hungry also. |
“แนนเหนื่อยและหิวอีกด้วย” |
กลุ่มที่ 2 แบบมีความหมายให้เลือก
or | “หรือ, มิฉะนั้นแล้ว” | |
or else | “หรือมิฉะนั้น” | |
either - or | “(อันนี้) หรือ (อันนั้น)” | |
neither – nor | “(ทังอันนี้) และ (อันนั้น)” |
(a) | He must go now, or he will miss the plane. |
“เขาจะต้องไปเดี๋ยวนี้ หรือมิฉะนั้น เขาจะพลาดเที่ยวบิน” |
|
(b) | He must do this, or else he will be punished. |
“เขาต้องทำสิ่งนี้ หรือมิฉะนั้น เขาจะถูกลงโทษ” |
|
(c) | Either you or he has to do this. |
“ไม่คุณก็เขาต้องทำงานชิ้นนี้” |
กลุ่มที่ 3 แบบมีความหมายแยกหรือตรงกันข้ามกัน ได้แก่
but | “แต่ว่า” | |
while | “แต่,ส่วน” | |
whereas | “แต่,ด้วยเหตุนี้” | |
yet | “ยัง,ถึงกระนั้น” | |
As well as | “และก็, พอๆ กันกับ” |
ตัวอย่าง เช่น
(a) | Somboon didn't work hard, but he passed his examination. |
“สมบูรณ์ ไม่ได้เรียนอย่างจริงจัง แต่เขาก็สอบผ่าน” |
|
(b) | She is very beautiful, while all her sisters are ugly. |
“หล่นสวยงามมาก ขณะที่พี่สาวของเธอไม่สวยเลย” |
|
(c) | Vichai worked hard, yet he failed. |
“วิชัยเรียนหนักแต่ก็ยังสอบตก” |
กลุ่มที่ 4 แบบเชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันได้แก่
so | “ดังนั้น” |
for | “เพราะ,เพราะเหตุว่า” |
therefore | “ดังนั้น” |
accordingiy | “เพราะฉะนั้น” |
ตัวอย่าง เช่น
(a) | It is time to go, so let's start our journey. |
“มันเป็นเวลาที่จะต้องไป พวกเราออกเดินทางกันเถอะ” |
|
(b) | I went in, for the door was open. |
“ฉันเข้าไปข้างใน เพราะประตูเปิดไว้” |
|
(c) | He was found guilty, therefore he was imprisoned. |
“ได้พบว่าเขามีความผิด ดังนั้น เขาจึงถูกจำคุก” |
Semi-colon | (;) |
Colon | (:) |
Dash | (-) |
Comma | (,) |
3) การเชื่อมด้วยเครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายวรรคตอน บางทีก็สามารถนำมาเชื่อมประโยค Simple Sentence (เอกัตถประโยค)
เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประโยค Compound Sentence (ประโยคสมาส) ได้แก่ เครื่องหมาย
มีวิธีใช้ดังนี้
(1) นิยมใช้ semi-colon (;) เชื่อมในกรณีไม่อยากขึ้นโยคใหม่ เนื่องจากเห็นว่าใจความต่อเนื่อง
คาบเกี่ยวกันยังไม่จบเสียเลยทีเดียว เช่น
- Boy was sick; he didn't work yesterday.
“บอยป่วยเขาไม่ได้ทำงานเมื่อวานนี้”
(2) นิยมใช้ dash (-) เชื่อมในกรณีประโยคหน้า-หลังเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน เช่น
- Boy was sick-he didn't work yesterday.
“บอยป่วยเขาไม่ได้ทำงานเมื่อวานนี้”
(3) นิยมใช้ comma (,) ในกรณีที่เห็นว่าข้อความควรต่อเนื่องกัน รวมกลุ่มไปด้วยกันไม่ควรแยกกันถ้าขึ้นประโยคใหม่เหตุการณ์อาจสะดุดไม่ต่อเนื่อง เช่น
- I looked around here; Sombat was writing a letter, Boy was reading, Vichai was doing exercise.
“ฉันมองไปรอบๆ ที่นี่ สมบัติกำลังเขียนจดหมาย , บอยกำลังอ่านหนังสือ ,
วิชัยกำลังทำการบ้าน”
สรุปว่า Compound Sentence หรือประโยคสมาสก็คือการนำเอาประโยค Simple Sentence ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นมารวมกันโดยอาศัยตัว Conjunctions (สันธาน) ทั้งหลายมาเป็นตัวเชื่อม โปรดจำไว้ว่า ประโยค Simple Sentence ทั้งสองที่มารวมกันนี้ มีความเป็นอิสระต่อกัน ถ้าแยกกันแล้วแต่ละประโยคก็ยังคงความเป็นตัวของตัวเองอยู่
3. Complex Sentence (สังกรประโยค) คือ ประโยค Simple Sentence อย่างน้อย 2 ประโยค มารวมกันเหมือน Compound Sentence นั่นเอง แต่มีนัยซ่อนอยู่นิดๆ คือประโยคที่มารวมกันเป็น Compound Sentence นั้น จะเป็นประโยคอิสระ ทั้ง 2 ประโยค เราเพียงแค่เอาตัว Conjunction คือ คำสันธาน มาเชื่อมหรือมาต่อเท่านั้นเอง ถ้าเราแยกออกก็ต่างคนต่างเป็นใหญ่ว่างั้นเถอะ ส่วน Complex Sentence
ซึ่งเรียกว่าสังกรประโยค หรือประโยคซ้อนนี้คือการเอา 2 Simple Sentence รวมกันเหมือน Compound Sentence นั่นเอง แต่ประโยคหนึ่งจะเป็นใหญ่กว่าอีกประโยคหนึ่ง ทั้งนี้ทั้งสองประโยคนี้ จะต้องไปด้วยกันขาดกันไม่ได้เนื้อความจะซ้อนหรือสัมพันธ์กันอยู่ ประโยคใหญ่หรือประโยคที่เป็นหลักเราเรียกว่า
มุขยประโยค หรือ Principle Sentence ส่วนประโยคเล็กซึ่งต้องพึ่งประโยคใหญ่เรียกว่าอนุประโยค หรือ (Subordinate Clause)
การสร้าง Simple Sentence ให้มารวมกันเพื่อเป็น Complex Sentence นั้น มีวิธีการดังต่อไปนี้
1.) ใช้ประพันธ์สรรพนาม (Relative Pronoun) มาเชื่อม ได้แก่คำเหล่านี้
Who | Whom |
whose | which |
where | what, that |
ทำให้เชื่อมกันกันเช่น
(a) He is the first man who has won this prize.
“เขาเป็นผู้ชายคนแรก ซึ่งชนะรางวัลประเภทนี้
2. ) ใช้สัมพันธ์วิเศษณ์ (Relative Adverb) มาเชื่อมได้แก่คำต่อไปนี้
when | whenever |
where | wherver |
why |
เช่น
(a) I don't know when she arriver here.
“ฉันไม่รู้ เมื่อไหร่หล่อนจะมาถึงที่นี่”
(b) He will go wherever she lives.
“เขาจะไปในที่หล่อนอาศัยอยู่”
บันได ขั้นที่ 6 คลิกที่นี้...
เนื้อหาความรู้ โดย พระราชวรมุนี คณะกรรมการสภาการศึกษา (สกศ.) คณะบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬมลงกรณราชวิทยาลัย